วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                       ความหมายของคำว่าบริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
 เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ความบันเทิงไว้จำนวนมหาศาล เปรียบเสมือนกับห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ต มีกำเนิดจากเหตุผลทางด้านการทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนโครงการเครือข่ายที่มีชื่อว่า "อาร์พาเน็ต" อันเกิดจากความร่วมมือ กันระหว่างมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 แห่ง เครือข่ายดังกล่าวก็เป็นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งมีประโยชน์มากทั้งทางด้านการศึกษาและการทหาร ภายหลังองค์กรและบริษัทต่างๆ ก็เล็งเห็นประโยชน์ ในการใช้เครือข่ายให้เป็นประโยชน์ จึงได้ขอดำเนินการเชื่อมเครือข่ายของตนเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันทำให้ขนาดของเครือข่ายขยายขอบเขตจนครอบคลุมทั่วโลกดังที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันและได้เรียกชื่อ เครือข่ายดังกล่าวใหม่ว่า "เครือข่ายอินเตอร์เน็ต"          
 การติดต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถติดต่อกันได้โดยอาศัยโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งในระดับกายภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะใช้หมายเลข ไอพีแอดเดรสในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายซึ่งหมายเลขไอพีจะเป็นเลขขนาด 32 บิต เครื่องแต่ละเครื่องจะต้องมีหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันเลย สำหรับผู้ใช้สามารถใช้ระบบชื่อโดเมน อ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์แทนหมายเลขไอพีก็ได้ เนื่องจากสามารถจดจำได้ง่ายกว่าหมายเลขไอพี 
         
 สำหรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถแบ่งออกเป็
น 2 วิธีหลักๆ ได้แก่ การหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและวิธีการเชื่อมต่อโดยตรง ทั้งสองวิธีนั้นทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ บริการต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ยกตัวอย่างเช่น บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บริการเข้าใช้ระบบระยะไกล บริการโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล บริการค้นหาข้อมูล หรือบริการ สนทนาออนไลน์ เป็นต้น           
บริการบนอินเตอร์เน็ตอีกหนึ่งบริการที่ถือว่าได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ บริการเวิลด์ไวด์เวบ ซึ่งเป็นบริการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งปัจจุบันสามารถนำเสนอ ในระบบมัลติมีเดียร่วมด้วยได้ รวมเรียกว่าเป็น "ระบบไฮเปอร์มีเดีย" ทำให้บริการเวิลด์ไวด์เวบได้รับความนิยมอย่างสูง เวิลด์ไวด์เวบใช้สถาปัตยกรรมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบ Client/Server ผู้ใช้จะระบุข้อมูลที่ต้องการผ่านโปรแกรมเวบบราวเซอร์ซึ่งจะทำการร้องขอไปยังเวบเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรโตคอล HTTP เมื่อเวบเซิร์ฟเวอร์ได้รับการร้องขอก็จะส่งข้อมูล ที่ต้องการกลับมาให้เวบบราวเซอร์เพื่อแสดงแก่ผู้ใช้           
ด้วยลักษณะเด่นและบริการที่น่าสนใจของบริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทำให้หน่วยงาน และบริษัทต่างๆ สนใจที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในเครือข่าย นอกจากนี้ยังมีบริษัทหลายแห่ง ใช้อินเตอร์เน็ตในการทำการค้าซึ่งเรียกว่า "การพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์" ทำให้จำนวนเวบไซต์เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่เร็วรวดมาก ทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ทั้งในด้านการทำธุรกิจ การศึกษา การบันเทิง เนื่องด้วยเพราะจำนวนข้อมูล และผู้ใช้งานซึ่งมีจำนวนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ  <!--pagebreak-->         
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังได้ถูกประยุกต์ให้มาใช้ภายในองค์กรที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกด้วย โดยจะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลขององค์กรเฉพาะ ภายในองค์กรเท่านั้น บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรจะถูกกำหนดสิทธิ์ไม่ให้เข้าใช้เครือข่ายในส่วนนี้ ซึ่งเรียกเครือข่ายในลักษณะนี้ว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต"           
ปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ยังคงเจริญเติบโต และได้รับการพัฒนาเพื่อและได้รับการพัฒนาเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ มวลมนุษย์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
 
อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด <!--pagebreak-->
การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
      อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด <!--pagebreak-->
                                                    
สรุป

จากการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตนั้น ทำให้เราได้รู้ว่าอินเตอร์เน้ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร บทความรายงาน ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่างๆรูปแบบการให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีหลากหลายด้านคือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส เป็นการรับ  ส่งจดหมายถึงกันผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานให้เองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์การถ่ายโอนข้อมูล เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร บทความ รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า ดาวน์โหลด  ส่วนกระบวนการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตเรียกว่า อัพโหลด การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆในที่ห่างไกล ช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้นๆ โกเฟอร์ บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล การจัดเก็บสารบนรายการแฟ้มข้อมูล และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียด ซึ่งเสมือนกับตู้บัตรคำในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล โดยการระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อที่เกี่ยวข้อง การสนทนา และข่าวสาร  เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร มีการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดง ความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆผ่านทางอินเทอร์เน็ต เวิร์ลไวด์เว็บ เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา L ซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว บริการนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากสร้างและแก้ไขง่าย ผู้คนหรือหน่วยงานต่างๆ จึงนิยมนำเสนอข้อมูลหรือขายสินค้าด้วยบริการนี้  การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคนเราจึงมักได้ยินคำว่าโฮมเพจ หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจอื่นๆได้อีกและยังได้รู้ถึงลักษณะของการใช้บริการบนอินเตอร์เน็ตอีกด้วยว่าต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตอล และแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอะนาล็อก โมเด็มมี 2 ประเภทคือแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก  ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์  1 เลขหมาย  ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรแกรมบราวเซอร์และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ ซึ่งทำให้เราเข้าใจเรื่องของรูปแบบการให้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้นค่ะ

Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทยหรือสคูลเน็ต เป็นเครือข่ายที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีโรงเรียนเชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายนี้มากกว่าหนึ่งพันโรงเรียน ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นครูและนักเรียน และใช้ประโยชน์เพื่ อการศึกษาเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าเครือข่ายสคูลเน็ตจะเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตและเรียกค้นข้อมูลจากทั่วโลกได้แล้วก็ตาม แต่ปัญหาที่พบคือ  มีข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ประโยชน์กับครูและนักเรียนโดยตรงได้น้อย อีกทั้งยังเป็นภาษาต่างประเทศ ทำให้เกิดความเข้าใจได้ยาก และการเรียกใช้ข้อมูลได้ค่อนข้างช้า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ใช้มักเป็นเรื่องความสนุกเพลิดพลิน นับเป็นปัญหาหนึ่งที่จะมีผลต่อเด็กและเยาวชนได้แก่ การแพร่ซึมวัฒนธรรมจากต่างชาติ
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้เครือข่ายสคูลเน็ต และเป็นจุดน่าสนใจที่จะดึงดูดให้นักเรียนและเยาวชนไทยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลความรู้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาเนื้อหาขึ้นภายในประเทศไทย เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้จะเป็นเสมือน ห้องสมุดความรู้ที่ใช้งานร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อลูกหลานชาวไทยต่อไป
โครงการดิจิตอลไลบารีจึงเป็นโครงการต้นแบบเริ่มต้น และเป็นตัวอย่าง ที่จะชักจูงให้โรงเรียนต่าง ๆ เข้ามาร่วมโครงการสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และเชื่อมโยงเข้าสู่ห้องสมุดดิจิตอลนี้ อย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดห้องสมุดเสมือนจริงบนเครือข่ายสคูลเน็ตสำหรับการใช้งานร่วมกันต่อไป
เนื้อหาที่นำมาใส่ไว้ในโครงการนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่จะร่วมโครงการ โดยเป็นการรวบรวมและเรียบเรียงมาเพื่อเป็นตัวอย่างของการสร้างห้องสมุดดิจิตอล ที่จะขยายเพิ่มต่อไปอย่างไม่มี ขอบเขต โดยเน้นเพื่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ คณะผู้ดำเนินการต้องขอขอบพระคุณหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่ได้ให้การสนับสนุน ทั้งทางด้านเนื้อหาและร่วมจัดทำ และหวังว่าโครงการนี้จะได้รับการขยายผลให้กว้างขวางต่อไป

ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้

ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น

ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้สามารถเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง อย่างอิสระ และ ตามความสนใจของแต่ล่ะบุคคล และยังเป็นสถานที่ ที่ทำก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า จนกระทั่งทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นความแตกต่างของหนังสือ ว่าเล่มไหนเขียนได้ดี และสามารถจดจำแนวทางการเขียนที่ดี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งยังช่วยให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์[แก้]ความสำคัญของห้องสมุด

ห้องสมุด ยังเป็นศูนย์ข้อมูล มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เพราะห้องสมุดจำเป็นต้องมีข่าวสารใหม่ๆ ไว้บริการผู้ใช้

[แก้]บทบาทของห้องสมุด

ห้องสมุด มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ
  • ด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนันสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว
  • ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติ ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย.....

[แก้]วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

วัตถุประสงค์หลักทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้
  1. เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
  2. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก ทัให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
  3. เพื่อใช้ในการค้นคว้า - ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
  4. เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ
  5. เพื่อนันทนาการ - นอกจากการอ่านหนังสือวิชาการแล้ว ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะห้องสมุด ยังมีหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ

กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิก(Web forum)

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษElectronic paper) บางครั้งก็เรียกว่า อีเปเปอร์ เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่เลียนแบบลักษณะการใช้หมึกบนกระดาษปกติ แต่แตกต่างจากจอแสดงผลแบบจอแบนโดยทั่วไป ตรงที่มีการใช้แบคไลต์ เพื่อให้ความสว่างแต่เซลล์ภาพ (pixel) ทำให้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์สะท้อนแสงได้เหมือนกระดาษทั่วไป และสามารถบันทึกข้อความและภาพโดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า หรือการใช้กำลังประมวลผล ขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนกระดาษได้ด้วย คุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นก็คือ เซลล์ภาพจะมีเสถียรภาพด้านภาพแบบไบสเตเบิล ทให้สถานะของแต่ละเซลล์ภาพสามารถคงอยู่ โดยไม่ต้องมีการจ่ายกำลังไฟ
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดของจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การใช้แสงแบคไลต์ของมอนิเตอร์นั้นทำให้สายตาของมนุษย์ล้า ขณะที่กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นสะท้อนแสงคล้ายกระดาษปกติ ทำให้อ่านเมื่อวางเป็นมุมเอียงได้ง่ายกว่าอ่านจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบา ทนทาน และโค้งงอได้มากกว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบอื่นๆ แม้จะไม่สามารถโค้งงอหรือยับได้เหมือนกระดาษก็ตาม
การประยุกต์ใช้งานในอนาคตนั้นคาดว่าจะมีหนังสือที่ใช้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเป็นรุ่นเก็บข้อมูลดิจิตอลจากหนังสือต่างๆ มากมาย โดยมีหนังสือเพียงเล่มเดียวที่แสดงผลหน้าต่างๆ พร้อมกัน โปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และโฆษณาอื่นๆ ในร้านค้านั้นได้มีการสาธิตอยู่บ้างแล้ว
สำหรับกระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่เหมือนกับกระดาษดิจิตอล เพราะกระดาษดิจิตอลนั้น เป็นกระดาษที่มีรูปแบบลวดลายอย่างหนึ่ง ต้องใช้กับปากกาดิจิตอล เพื่อสร้างเอกสารลายมือแบบดิจิตอล รูปแบบของจุดที่พิมพ์นั้นจะบ่งบอกโคออดิเนตที่ชัดเจนบนกระดาษ สำหรับปากกาดิจิตอลที่ใช้จะเก็บลายมือเอาไว้ และโหลดเข้าไปยังคอมพิวเตอร์


[แก้]เทคโนโลยี

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนาครั้งแรก ในราวทศวรรษ 1970 โดย Nick Sheridon แห่งศูนย์วิจัยแพโล แอลโต ของซีรอกซ์ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นแรก เรียกว่า Gyricon ประกอบด้วยทรงกลมโพลีเอทีลีน มีขนาดระหว่าง 20-100 ไมโครเมตร แต่ละทรงกลมประกอบด้วยพลาสติกสีดำมีประจุลบที่ด้านหนึ่ง และพลาสติกสีขาวมีประจุบวกอีกด้านหนึ่ง ทรงกลมนี้ถูกฝังอยู่ในแผ่นซิลิโคนโปร่งใส แต่ละลูกจะแขวนลอยอยู่ในฟองน้ำมัน ทำให้มันสามารถหมุนไปได้โดยอิสระ สภาพขั้วของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ขั้วไฟฟ้าแต่ละคู่ จะพิจารณาว่าด้านขาวหรือด้านดำที่หันขึ้นด้านบน และจะทำให้พิกเซลสีดำหรือสีขาวปรากฏขึ้น
เมื่อมาถึงทศวรรษ 1990 มีการประดิษฐ์กระดาษอิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่งขึ้นมา โดยนายโจเซฟ จาคอบสัน (Joseph Jacobson) ซึ่งภายหลังได้ร่วยมก่อตั้งบริษัท E Ink ขึ้น และได้เป็นพันธมิตรกับ Philips Components อีกสองปีต่อมาจึงได้พัฒนาและทำตลาดเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นอย่างจริงจัง
เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ใช้ไมโครแคปซูลขนาดจิ๋ว ที่บรรรจุอนุภาคระดับโมเลกุลสีขาวที่มีประจุไฟฟ้า แขวนลอยอยู่ในน้ำมันแร่มีสี กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกๆ นั้นมีวงจรที่ใช้ควบคุมว่าอนุภาคหรือขาวอยู่ที่ด้านบนของแคปซูล (ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสีขาว) หรือที่ด้านล่างของแคปซูล (ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสีของน้ำมัน) ข้อนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะเป็นการแนะนำเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบ Electrophoresis ขึ้นใหม่ แต่การใช้ไมโครแคปซูลทำให้มีการใช้จอแสดงผลบนแผ่นพลาสติกโค้งงอได้ แทนที่จะเป็นกระดาษ
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกๆ แบบหนึ่งประกอบด้วยแผ่นแคปซูลโปร่งแสงขนาดเล็กมาก แต่ละแผ่นมีขนาดประมาณ 40 ไมโครเมตร แต่ละแคปซูลประกอบด้วยสารละลายเหมือนน้ำมัน มีสีย้อมสีดำ (หมึกอิเล็กทรอนิกส์) และมีอนุภาคไทเทเนียมไอออกไซด์สีขาวจำนวนมากแขวนลอยอยู่ภายใน อนุภาคเหล่านี้มีประจุไฟฟ้าลบไม่สูงนัก และแต่ละอนุภาคก็มีสีขาวโดยธรรมชาติ
แคปซูลขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครแคปซูลนี้ถูกยึดไว้ในชั้นผิวของพอลิเมอร์เหลว ประกบอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าสองชุด ด้านบนทำด้วยอินเดียมทินออกไซด์ (ITO) เป็นโลหะนำไฟฟ้าโปร่งแสง
มีสองอาเรย์ที่ถูกเรียงทำทำให้แผ่นแคปซูลถูกแบ่งเป็นพิกเซล ซึ่งแต่ละพิกเซลจะสอดคล้องกับคู่อิเล็กโตรดที่อิ่มตัวทั้งสองด้านของแผ่น แผ่นดังกล่าวถูกเคลือบด้วยพลาสติกโปร่งแสงเพื่อป้องกันความเสียหาย ทำให้มีความหนารูปไข่ 80 ไมโครเมตร หรือสองเท่าของกระดาษธรรมดา
E-ink.png
โครงข่ายของอิเล็กโตรดจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับวงจรแสดงผล ซึ่งเปลี่ยนหมึกอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็น เปิด และ ปิด ที่พิกเซลหนึ่งๆ โดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังคู่อิเล็กโตรดนั้นๆ การจ่ายประจุลบไปยังอิเล็กโตรดที่พื้นผิว จะผลักอนุภาคไปยังด้านล่างสุดของแคปซูลนั้นๆ เป็นการผลักสีย้อมดำไปยังพื้นผิว และทำให้เซลล์ภาพนั้นปรากฏเป็นสีดำ เมื่อมีการแปลงสลับแรงดันไฟฟ้า ก็มีผลตรงกันข้าม คือทำให้อนุภาคถูกขับจากพื้นผิว ทำให้เซลล์ภาพปรากฏเป็นสีขาว
เมื่อเร็วๆ นี้มีการใช้อิเล็กโตรดชั้นเดียวใต้ไมโครแคปซูล ซึ่งนับว่าลดความยุ่งยากลงได้เป็นอย่างมาก

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) . 2545. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.srithai.com/

E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด
สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็น
คนเดียวหรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้
สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่าง กันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา
โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่ายเขาก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับ
อาจารย์ หรือ เพื่อน นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อ
สื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด ของมุมโลก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียน เป็นราย บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่ง ที่มีความ สำคัญ คือ 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค 2.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม 3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน 4. การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง
5. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก
โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความ ไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย 6. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถที่จะถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ 7. ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่า
ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุด
เมื่อทุก บ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลก ก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงาน
ตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงาน
ทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสร้างฟอร์ม e-mail ไว้ให้เพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูล




ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
•  อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
•  อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ

  • ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
  • อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา
รูปแบบของ e-Mail Address
บัญชีชื่อ โดเมนเนมของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ
เช่น นายสมชาย เป็นพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายสมชาย คือ somchai@nectec.or.th (ข้อมูลสมมติ)
นายวินัย เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายวินัย คือ vinai@ku.ac.th
การแจ้งอีเมล์ให้กับผู้อื่น มีข้อควรระวังดังนี้
  • ระบุตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กให้ชัดเจน เพราะระบบอินเทอร์เน็ต มักจะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นคนละตัวกัน เช่น Vinai ไม่เหมือนกับ vinai เป็นต้น
จะต้องระบุให้ครบทั้งชื่อบัญชี เครื่องหมาย @ และโดเมนเนม

อินเตอร์เน็ตคืออะไร
อินเตอร์เน็ต (Internet) คงจะเป็นคำที่คนแทบทุกคนทั่วโลกรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ก็ไม่อาจทราบชัดเจนว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไรกันแน่ และมีอิทธิพลต่อชีวิตเราในโลกอย่างไร
อินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันจนมีเครือข่ายที่มีขนาดมหึมาเพื่อประโยชน์ ในการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ โดยผ่านผู้ให้บริการกับเครือข่ายทั่วโลก
อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่คลอบคลุมเนื้อหาแทบทุกบริษัท และเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้เครือข่ายได้ค้นดว้าข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถท่องเที่ยวไปในซุปเปอร์ไฮเวย์อิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Super Highway) ไปยังต่างประเทศแบบออนไลน์ด้วยระยะเวลาอันสั้น
บริการอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่
·         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail) คือไปรษณีย์ที่ส่งผ่านกันภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ติดต่อกับบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ต สำหรับการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Unix มีโปรแกรมที่ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่หลายโปรแกรม อาทิเช่น Mail, Pine เป็นต้น ในระบบปฏิบัติการ Windows ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแบบ GUI : Graphic User Interface ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น โปรแกรม Internet mail ของ Microsoft Internet Explorer หรือโปรแกรม Internet mail ของ Netscape เป็นต้น
·         การขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Telnet) คือการขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการจากเครื่องใดในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้นโดยตรง การขอใช้บริการแบบนี้ผ้ใช้จะป้อนคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ของตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง แล้วจึงแสดงผลลัพธ์กลับมาที่แสดงที่หน้าจอ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถใช้โปรแกรม telnet ได้โดยไม่ต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้ เช่นการค้นหาโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บแฟ้มข้อมูลด้วยโปรแกรม Archie และบริการ Gopher เป็นต้น
·         บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ (File Transfer Protocol หรือ FTP) คือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เป็นบริการสำคัญอย่างหนึ่งในอินเตอร์เน็ต โดยปรกติแล้วผู้ที่สามารถถ่าย โอนย้ายแฟ้มข้อมูลได้นั้น จะต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้บนโฮสต์นั้นๆ แต่เครือข่ายหลายแห่งได้เปิดให้บริการสาธารณะให้แก่บุคคลภายนอก สามารถถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูลด้วยชื่อบัญชี "anonymous" โดยไม่ต้องมีการป้อนรหัสผ่านข้อมูล หรือแฟ้มข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถขอถ่ายโอนย้ายได้นั้นมีอยู่มากมาย เช่น บทความข้อมูลทางสถิติ ผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ คือซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ทำงานบนระบบต่าง ๆ เช่นระบบวินโดวส์ ดอส ยูนิกซ์ หรือแมคอินทอช
·         Archie คือระบบค้นแหล่งที่อยู่ข้อมูล เป็นระบบที่ช่วยค้นหาที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลบนโฮสต์สาธารณะ เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มข้อมูลที่สนใจอยู่ที่โฮสต์ใด ให้เรียกใช้ Archie แล้วป้อนคำสั่งค้นชื่อแฟ้มข้อมูล โปรแกรมจะตรวจค้นหาแฟ้มข้อมูล พร้อมกับแสดงชื่อแฟ้มและชื่อโฮสต์ที่เก็บข้อมูล เมื่อผู้ใช้ทราบชื่อแล้วก็สามารถใช้ FTP เพื่อถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไป
·         Gopher เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบเมนูและเป็นจุดศูนย์รวมในการเรียกใช้บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีทั้ง Telnet โอนย้ายแฟ้มข้อมูลด้วย FTP หรือค้นหาชื่อโฮสต์ที่เก็บแฟ้มข้อมูลด้วย Archie บริการเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง และไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อโฮสต์ที่ต้องการติดต่อ เพราะสามารถเลือกได้จากเมนู Gopher จึงเป็นเสมือนเส้นทางและอุโมงค์ลัดเลาะไปสู่ยริากรในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก
·         กลุ่มข่าว (UseNet) เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มการสนทนาและอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ผ่านทางระบบกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกันกับบูลเลตินบอร์ด (Bulletin Board System) แต่ละกลุ่มข่าวใน Usenet มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นในหัวข้อตามที่กลุ่มนั้นสนใจ ตั้งแต่เรื่องทางเทคนิค วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กีฬา ศาสนา ปรัชญา และหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย
·         Wide Areas Information Server (WAIS) ดัชนีบอกแหล่งข้อมูล (อ่านว่า เวยส์) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลในรูปทที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้มนั้น ในขณะที่ Archie จะค้นชื่อของแฟ้มที่ต้องการค้นหาซึ่งต่างกับ WAIS ลักษณะของ WAIS เป็นการเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากว่าในอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลอยู่หลายแห่งกระจัดกระจาย การค้นข้อมูลโดยแยกไปค้นตามข้อมูลต่าง ๆ ย่อมไม่สะดวกแก่ผู้ใช้ การทำงานของWAIS จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นเหมือนกับว่ามีฐานข้อมูลเพียงแห่งเดียว และเมื่อต้องการค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยค้นไปยังแหล่งข้อมูลที่ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันอยู่
World Wide Web (WWW) เป็นบริการข้อมูลแบบมัลติมีเดีย (Multi-media) บนอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน จุดเด่นของ WWW ได้แก่ความง่ายต่อการใช้งาน และมีรูปแบบการแสดงผลแบบ (Hyper Text) ที่เชื่อมโยงจากข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีกชุดหนึ่งได้ ซึ่งอาจอยู่ในศูนย์บริการข้อมูลเดียวกันหรือต่างศูนย์กัน บริการ www จึงเป็นเสมือนเครือข่ายที่โยงใยข้อมูลทั่วโลกเข้าหากัน เมื่อใช้งานศูนย์บริการแห่งหนึ่งแล้วผู้ใช้สามารถต่อเชื่อมเพื่อค้นข้อมูลที่ศูนย์อื่น ๆ ได้ ข้อมูลใน www มีทั้งข้อความปรกติ หรือแบบมัลติมีเดีย ที่ประกอบด้วยเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว www ยังได้ผนวกบริการอินเตอร์เน็ตอื่นไว้ภายใน เช่น การโอนย้ายแฟ้มด้วย Gopher หรือ Usenet


คำแนะนำในการใช้ google

1. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับ Google
1.1 การใช้ผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ บริการ และเว็บไซต์ของ Google (เรียกรวมว่า “บริการ” ในเอกสารนี้และไม่รวมบริการใดๆ ที่ Google มอบให้แก่คุณภายใต้ข้อตกลงลายลักษณ์อักษรที่แยกต่างหาก) จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงทางกฎหมายระหว่างคุณและ Google “Google” หมายถึง Google Inc. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States เอกสารนี้อธิบายถึงการจัดทำข้อตกลงและระบุเงื่อนไขบางอย่างของข้อตกลงดังกล่าว
1.2 ข้อตกลงระหว่างคุณกับ Google จะรวมถึงข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุอยู่ในเอกสารนี้เป็นอย่างน้อยเสมอ เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่นกับ Google โดยลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ข้อกำหนดทั่วไป”
1.3 ข้อตกลงระหว่างคุณกับ Google จะรวมถึงข้อกำหนดของคำชี้แจงทางกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการที่ให้ นอกเหนือจากข้อกำหนดทั่วไป ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ข้อกำหนดเพิ่มเติม” ในกรณีที่ข้อกำหนดเพิ่มเติมมีผลบังคับใช้กับบริการหนึ่งบริการใด คุณจะสามารถเข้าถึงข้อกำหนดดังกล่าวเพื่ออ่านภายใน หรือโดยผ่านการใช้บริการนั้น
1.4 ข้อกำหนดทั่วไป รวมทั้งข้อกำหนดเพิ่มเติม เป็นส่วนประกอบของข้อตกลงที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างคุณและ Google เกี่ยวกับการใช้บริการของคุณ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องอ่านข้อกำหนดเหล่านี้อย่างถี่ถ้วน ข้อตกลงทางกฎหมายดังกล่าวต่อไปนี้จะรวมเรียกว่า “ข้อกำหนด”
1.5 หากมีความขัดแย้งใดๆ ระหว่างข้อกำหนดเพิ่มเติมกับข้อกำหนดทั่วไป ข้อกำหนดเพิ่มเติมจะมีผลบังคับสำหรับบริการนั้น
2. การยอมรับข้อกำหนด
2.1 ในการใช้บริการ คุณจะต้องยอมรับข้อกำหนดก่อน มิฉะนั้น คุณจะไม่สามารถใช้บริการได้
2.2 คุณสามารถยอมรับข้อกำหนดได้โดย:
(ก) คลิกเพื่อยอมรับหรือเห็นด้วยกับข้อกำหนด โดย Google จะจัดเตรียมตัวเลือกนี้ไว้ให้คุณในอินเทอร์เฟซผู้ใช้สำหรับบริการใดๆ หรือ
(ข) โดยการใช้บริการจริง ในกรณีนี้ คุณเข้าใจและยอมรับว่า Google จะถือว่าการใช้บริการของคุณเป็นการยอมรับข้อกำหนดนับจากจุดนั้นเป็นต้นไป
2.3 คุณไม่สามารถใช้บริการและไม่สามารถยอมรับข้อกำหนดได้ ถ้า (ก) คุณยังไม่บรรลุนิติภาวะที่จะเข้าทำสัญญาที่มีผลผูกพันกับ Google หรือ (ข) คุณเป็นบุคคลที่ถูกห้ามไม่ให้รับบริการภายใต้กฎหมายของสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศที่คุณพำนักอาศัยหรือที่คุณใช้บริการ
2.4 ก่อนที่คุณจะดำเนินการต่อ คุณควรพิมพ์หรือบันทึกสำเนาข้อกำหนดทั่วไปไว้ในเครื่องเพื่อเป็นหลักฐาน
3. ภาษาของข้อกำหนด
3.1 ในกรณีที่ Google ได้จัดเตรียมฉบับแปลของข้อกำหนดภาษาอังกฤษไว้ให้คุณ คุณยอมรับว่าฉบับแปลนั้นจัดเตรียมไว้ให้คุณเพื่อความสะดวกเท่านั้น และข้อกำหนดฉบับภาษาอังกฤษจะมีผลบังคับสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับ Google
3.2 หากมีความขัดแย้งใดๆ ระหว่างข้อกำหนดฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปล ฉบับภาษาอังกฤษจะมีผลบังคับ
4. การให้บริการโดย Google
4.1 Google มีบริษัทย่อยและนิติบุคคลในเครือทั่วโลก (“บริษัทย่อยและบริษัทในเครือ”) บางครั้ง บริษัทเหล่านี้จะให้บริการแก่คุณในนามของ Google คุณยินยอมและยอมรับว่าบริษัทย่อยและบริษัทในเครือจะมีสิทธิ์ให้บริการแก่คุณ
4.2 Google มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ใช้ คุณยินยอมและยอมรับว่ารูปแบบและลักษณะของบริการที่ Google ให้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
4.3 ในฐานะส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่องดังกล่าว คุณยินยอมและยอมรับว่า Google อาจหยุด (เป็นการถาวรหรือชั่วคราว) ให้บริการ (หรือคุณลักษณะใดๆ ภายในบริการ) แก่คุณหรือแก่ผู้ใช้โดยทั่วไป ภายใต้การพิจารณาของ Google แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า คุณอาจหยุดใช้บริการเมื่อใดก็ได้ คุณไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ Google ทราบอย่างชัดเจนเมื่อคุณหยุดใช้บริการ
4.4 คุณยินยอมและยอมรับว่า หาก Google ปิดการเข้าถึงบัญชีของคุณ คุณอาจถูกป้องกันไม่ให้เข้าถึงบริการ รายละเอียดบัญชีของคุณ หรือไฟล์ใดๆ หรือเนื้อหาอื่นๆ ที่อยู่ในบัญชีของคุณ
4.5 คุณยินยอมและยอมรับว่า แม้ว่าในขณะนี้ Google อาจจะไม่ได้กำหนดขอบเขตสูงสุดที่แน่นอนเกี่ยวกับปริมาณข้อมูลที่คุณอาจส่งหรือได้รับผ่านบริการ หรือจำนวนพื้นที่จัดเก็บที่ใช้สำหรับการให้บริการใดๆ แต่ Google อาจกำหนดขอบเขตสูงสุดที่แน่นอนดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ Google
5. การใช้บริการโดยคุณ
5.1 ในการเข้าถึงบริการบางประเภท คุณอาจต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง (เช่น ข้อมูลระบุตัวตนหรือรายละเอียดการติดต่อ) โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลงทะเบียนใช้บริการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้บริการที่ต่อเนื่อง คุณยอมรับว่าข้อมูลการลงทะเบียนใดๆ ที่คุณให้แก่ Google จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง และเป็นปัจจุบันเสมอ
5.2 คุณยอมรับว่าจะใช้บริการนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาตตาม (ก) ข้อกำหนดและ (ข) กฎหมาย ข้อบังคับ หรือหลักปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องใดๆ ในเขตอำนาจศาลที่เกี่ยวข้อง (รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ไปยังและจากสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
5.3 คุณยอมรับว่าจะไม่เข้าถึง (หรือพยายามเข้าถึง) บริการหนึ่งบริการใดโดยวิธีอื่นที่นอกเหนือไปจากโดยผ่านอินเทอร์เฟซที่ Google จัดเตรียมไว้ให้ เว้นแต่คุณจะได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะให้ทำเช่นนั้นได้ตามข้อตกลงแยกต่างหากกับ Google คุณยอมรับเป็นการเฉพาะว่าจะไม่เข้าถึง (หรือพยายามเข้าถึง) บริการหนึ่งบริการใดโดยใช้วิธีการอัตโนมัติ (รวมถึงการใช้สคริปต์หรือโปรแกรมสืบค้นข้อมูลทางเว็บ) และจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่กำหนดไว้ในไฟล์ robots.txt ที่ปรากฏอยู่ในบริการ
5.4 คุณยอมรับว่าคุณจะไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่ขัดขวางหรือรบกวนบริการ (หรือเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับบริการ)
5.5 คุณยอมรับว่าคุณจะไม่ทำสำเนา คัดลอก ทำซ้ำ ขาย แลกเปลี่ยน หรือขายต่อบริการเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ เว้นแต่คุณจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าวเป็นกรณีเฉพาะตามข้อตกลงแยกต่างหากกับ Google
5.6 คุณยอมรับว่าคุณเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว (และ Google ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อคุณหรือต่อบุคคลที่สามใดๆ) สำหรับการละเมิดภาระผูกพันภายใต้ข้อกำหนดและผลลัพธ์ (รวมถึงความสูญเสียหรือความเสียหายที่ Google อาจได้รับ) ของการละเมิดดังกล่าว
6. รหัสผ่านและการรักษาความปลอดภัยของบัญชี
6.1 คุณยอมรับและเข้าใจดีว่าคุณต้องรับผิดชอบในการรักษาความลับของรหัสผ่านที่เชื่อมโยงกับบัญชีใดๆ ที่คุณใช้ในการเข้าถึงบริการ
6.2 ดังนั้น คุณยอมรับว่าคุณเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวต่อ Google สำหรับกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายใต้บัญชีของคุณ
6.3 หากคุณทราบถึงการใช้รหัสผ่านหรือบัญชีของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณตกลงที่จะแจ้งให้ Google ทราบทันทีที่ http://www.google.com/support/accounts/bin/answer.py?answer=58585&hl=th
7. การรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ
7.1 สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลของ Google โปรดอ่านนโยบายส่วนบุคคลที่ http://www.google.co.th/privacy.html นโยบายนี้อธิบายถึงการปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลและปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณโดย Google เมื่อคุณใช้บริการ
7.2 คุณตกลงว่าจะใช้ข้อมูลของคุณตามนโยบายส่วนบุคคลของ Google
8. เนื้อหาในบริการ
8.1 คุณเข้าใจดีว่าข้อมูลทั้งหมด (เช่น ไฟล์ข้อมูล ข้อความลายลักษณ์อักษร ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ดนตรี ไฟล์เสียง หรือเสียงอื่นๆ ภาพถ่าย วิดีโอ หรือรูปภาพอื่นๆ) ซึ่งคุณอาจมีสิทธิ์เข้าถึงโดยเป็นส่วนหนึ่งของบริการหรือโดยผ่านการใช้บริการ เป็นความรับผิดชอบของบุคคลที่สร้างเนื้อหาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดต่อไปนี้จะเรียกว่า “เนื้อหา”
8.2 คุณควรทราบว่าเนื้อหาที่นำเสนอต่อคุณโดยเป็นส่วนหนึ่งของบริการ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงโฆษณาในบริการและเนื้อหาที่มีผู้สนับสนุนภายในบริการ อาจได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นของผู้สนับสนุนหรือผู้โฆษณาที่ให้เนื้อหานั้นแก่ Google (หรือโดยบุคคลหรือบริษัทอื่นในนามของพวกเขา) ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข เช่า ให้เช่า ให้ยืม ขาย แจกจ่าย หรือสร้างผลงานต่อเนื่องโดยอาศัยเนื้อหาดังกล่าว (ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน) เว้นแต่คุณจะได้รับแจ้งจาก Google หรือจากเจ้าของเนื้อหานั้นให้ดำเนินการดังกล่าวได้ ตามข้อตกลงแยกต่างหาก
8.3 Google ขอสงวนสิทธิ์ (แต่จะไม่มีภาระผูกพัน) ในการคัดกรอง ตรวจทาน ทำเครื่องหมาย กรอง เปลี่ยนแปลงแก้ไข ปฏิเสธ หรือลบเนื้อหาใดๆ ออกจากบริการใดๆ สำหรับบริการบางอย่าง Google อาจจัดเตรียมเครื่องมือในการกรองเนื้อหาทางเพศอย่างชัดเจน เครื่องมือดังกล่าวรวมถึงการตั้งค่า SafeSearch (ดูที่ http://www.google.co.th/help/customize.html#safe) นอกจากนี้ ยังมีบริการและซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาที่คุณอาจพบว่าไม่เหมาะสม
8.4 คุณเข้าใจดีว่าในการใช้บริการ คุณอาจพบกับเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจ ไม่เหมาะสม หรือหยาบคาย และคุณใช้บริการภายใต้ความเสี่ยงของตนเอง
8.5 คุณยอมรับว่าคุณเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว (และ Google ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อคุณหรือต่อบุคคลที่สามใดๆ) สำหรับเนื้อหาที่คุณสร้าง ส่ง หรือแสดง ในระหว่างที่ใช้บริการและผลลัพธ์ของการกระทำของคุณ (รวมถึงความสูญเสียหรือความเสียหายที่ Google อาจได้รับ) จากการดำเนินการดังกล่าว
9. กรรมสิทธิ์
9.1 คุณยินยอมและยอมรับว่า Google (หรือผู้ให้อนุญาตแก่ Google) เป็นเจ้าของสิทธิ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ และผลประโยชน์ทั้งหมดในบริการ รวมถึงสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ที่มีอยู่ในบริการ (ไม่ว่าสิทธิ์เหล่านั้นจะได้รับการจดทะเบียนไว้หรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าสิทธิ์เหล่านั้นอาจมีอยู่ ณ ที่ใดในโลกก็ตาม) นอกจากนี้ คุณยังยอมรับด้วยว่า บริการอาจประกอบด้วยข้อมูลที่ Google กำหนดให้เป็นความลับ และคุณจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจาก Google
9.2 ไม่มีส่วนใดในข้อกำหนดนี้ที่ให้สิทธิ์แก่คุณในการใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการบริการ ตราสัญลักษณ์ ชื่อโดเมน และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เป็นตราสินค้าของ Google เว้นแต่คุณจะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นโดยลายลักษณ์อักษรกับ Google
9.3 หากคุณได้รับสิทธิ์อย่างชัดแจ้งให้ใช้คุณลักษณะของตราสินค้าใดๆ ดังกล่าว ตามข้อตกลงลายลักษณ์อักษรแยกต่างหากกับ Google คุณยอมรับว่าการใช้คุณลักษณะดังกล่าวของคุณจะเป็นไปตามข้อตกลงนั้น บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องใดๆ ของข้อกำหนดนี้ และหลักเกณฑ์การใช้คุณลักษณะที่เป็นตราสินค้าของ Google ตามที่มีการอัปเดตเป็นระยะๆ คุณสามารถอ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าวทางออนไลน์ได้ที่ http://www.google.co.th/permissions/guidelines.html (หรือ URL อื่นที่ Google อาจจัดเตรียมไว้เพื่อวัตถุประสงค์นี้เป็นระยะๆ)
9.4 นอกเหนือจากใบอนุญาตที่จำกัดซึ่งระบุอยู่ในวรรค 11 Google ยินยอมและยอมรับว่า Google ไม่ได้รับสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ หรือผลประโยชน์ใดๆ จากคุณ (หรือผู้ให้อนุญาตแก่คุณ) ภายใต้ข้อกำหนดนี้ สำหรับเนื้อหาใดๆ ที่คุณส่ง โพสต์ ส่งผ่าน หรือแสดงบนหรือโดยผ่านบริการ รวมถึงสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ที่มีอยู่ในเนื้อหานั้น (ไม่ว่าสิทธิ์เหล่านั้นจะได้รับการจดทะเบียนไว้หรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าสิทธิ์เหล่านั้นอาจมีอยู่ ณ ที่ใดในโลกก็ตาม) คุณยอมรับว่าคุณต้องรับผิดชอบในการปกป้องและบังคับใช้สิทธิ์เหล่านั้น และ Google ไม่มีภาระผูกพันในการดำเนินการดังกล่าวในนามของคุณ เว้นแต่คุณจะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นโดยลายลักษณ์อักษรกับ Google
9.5 คุณยอมรับว่าคุณจะไม่ลบ ปิดบัง หรือแก้ไขประกาศเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ใดๆ (รวมถึงประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า) ซึ่งอาจแนบหรือมีอยู่ภายในบริการ
9.6 คุณยอมรับว่าในการใช้บริการ คุณจะไม่ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการบริการ ชื่อทางการค้า ตราสัญลักษณ์ของบริษัทหรือองค์กรใดๆ ในลักษณะที่มีเจตนาจะก่อให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับเจ้าของหรือผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตของเครื่องหมาย ชื่อ หรือตราสัญลักษณ์ดังกล่าว เว้นแต่คุณจะได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้งให้ดำเนินการดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Google
10. ใบอนุญาตจาก Google
10.1 Google ให้ใบอนุญาตส่วนบุคคลทั่วโลก ซึ่งไม่จำกัดและไม่สามารถโอนสิทธิ์ได้ โดยปราศจากค่ากรรมสิทธิ์ แก่คุณ ในการใช้ซอฟต์แวร์ที่ Google จัดเตรียมให้โดยเป็นส่วนหนึ่งของบริการที่ Google มอบให้แก่คุณ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ซอฟต์แวร์”) ใบอนุญาตนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คุณสามารถใช้และเพลิดเพลินกับคุณประโยชน์ของบริการตามที่ Google จัดเตรียมไว้ให้ ในลักษณะที่ข้อกำหนดนี้อนุญาตเท่านั้น
10.2 คุณต้องไม่ (และต้องไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นใด) คัดลอก แก้ไข สร้างผลงานต่อเนื่อง ย้อนกระบวนการผลิต แยกส่วนประกอบ หรือพยายามแยกรหัสที่มาของซอฟต์แวร์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดในลักษณะอื่นใด เว้นแต่จะกฎหมายจะอนุญาตหรือกำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง หรือเว้นแต่คุณจะได้รับหนังสือแจ้งเป็นกรณีเฉพาะจาก Google ให้ดำเนินการดังกล่าวได้
10.3 คุณไม่สามารถโอน (หรือให้อนุญาตช่วง) สิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์ ให้ผลประโยชน์ในหลักประกันที่มีต่อสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์ หรือโอนส่วนหนึ่งส่วนใดของสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์ของคุณในลักษณะอื่น เว้นแต่ Google จะอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรให้คุณดำเนินการดังกล่าวได้เป็นกรณีเฉพาะ
11. ใบอนุญาตให้ใช้เนื้อหาจากคุณ
11.1 คุณรักษาไว้ซึ่งลิขสิทธิ์และสิทธิ์อื่นใดที่คุณมีอยู่แล้วในเนื้อหาที่คุณส่ง โพสต์ หรือแสดงบนหรือผ่านบริการนี้ โดยการส่ง โพสต์ หรือแสดงเนื้อหาที่คุณให้สิทธิ์ที่ไม่จำกัดทั่วโลกโดยถาวร ไม่สามารถเพิกถอนได้ และปราศจากค่ากรรมสิทธิ์ แก่ Google ในการทำซ้ำ ปรับเปลี่ยน แก้ไข แปล เผยแพร่ ดำเนินการโดยสาธารณะ แสดงต่อสาธารณะ และแจกจ่ายเนื้อหาใดๆ ที่คุณส่ง โพสต์ หรือแสดงบนหรือผ่านบริการนี้ ใบอนุญาตนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ Google สามารถแสดง แจกจ่าย และส่งเสริมบริการนี้เท่านั้น และอาจถูกเพิกถอนสำหรับบริการบางประเภทตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเพิ่มเติมของบริการเหล่านั้นได้
11.2 คุณยอมรับว่าใบอนุญาตนี้รวมถึงสิทธิ์สำหรับ Google ในการเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าวแก่บริษัท องค์กร หรือบุคคลอื่นๆ ที่ Google มีความสัมพันธ์ด้วยเพื่อให้บริการร่วมกัน และในการใช้เนื้อหาดังกล่าวสำหรับการให้บริการดังกล่าว
11.3 คุณเข้าใจดีว่า ในการดำเนินขั้นตอนทางเทคนิคที่จำเป็นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ของเรา Google อาจจะ (ก) ส่งหรือแจกจ่ายเนื้อหาของคุณผ่านเครือข่ายสาธารณะต่างๆ และในสื่อต่างๆ และ (ข) ทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแก่เนื้อหาของคุณตามที่จำเป็นเพื่อให้เนื้อหาดังกล่าวสอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคของเครือข่าย อุปกรณ์ บริการ หรือสื่อที่เชื่อมต่อ คุณยอมรับว่าใบอนุญาตนี้จะอนุญาตให้ Google ดำเนินการดังกล่าวได้
11.4 คุณยืนยันและรับประกันต่อ Google ว่า คุณมีสิทธิ์ อำนาจ และความรับผิดชอบทั้งหมดที่จำเป็นในการให้ใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้น
12. การอัปเดตซอฟต์แวร์
12.1 ซอฟต์แวร์ที่คุณใช้อาจดาวน์โหลดและติดตั้งการอัปเดตจาก Google โดยอัตโนมัติเป็นระยะๆ การอัปเดตเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น และอาจอยู่ในรูปของการแก้ไขข้อบกพร่อง ฟังก์ชันที่ปรับปรุงใหม่ โมดูลซอฟต์แวร์ใหม่ และเวอร์ชันใหม่ คุณตกลงที่จะรับการอัปเดตดังกล่าว (และอนุญาตให้ Google จัดส่งการอัปเดตเหล่านี้ถึงคุณ) โดยเป็นส่วนหนึ่งของการใช้บริการ
13. การสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับ Google
13.1 ข้อกำหนดนี้จะยังคงมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะถูกยกเลิกโดยคุณหรือ Google ตามที่กำหนดไว้ด้านล่างนี้
13.2 หากคุณต้องการยุติข้อตกลงทางกฎหมายกับ Google คุณสามารถทำได้โดย (ก) แจ้งให้ Google ทราบได้ตลอดเวลา (ข) ปิดบัญชีสำหรับบริการทั้งหมดที่คุณใช้ ในกรณีที่ Google ได้จัดเตรียมตัวเลือกนี้ไว้ให้คุณ ทั้งนี้ คุณจะต้องส่งหนังสือแจ้งไปยังที่อยู่ของ Google ซึ่งระบุไว้ในตอนต้นของข้อกำหนดนี้
13.3 Google อาจยกเลิกข้อตกลงทางกฎหมายกับคุณเมื่อใดก็ได้ในกรณีต่อไปนี้:
(ก) คุณได้ละเมิดบทบัญญัติใดๆ ของข้อกำหนดนี้ (หรือได้กระทำการในลักษณะที่เห็นได้ชัดว่าคุณไม่ได้ตั้งใจที่จะ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติของข้อกำหนดนี้) หรือ
(ข) Google จำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าวตามกฎหมาย (ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่การให้บริการแก่คุณเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หรือกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย) หรือ
(ค) พันธมิตรที่ร่วมมือกับ Google ในการเสนอบริการนี้แก่คุณได้ยกเลิกความสัมพันธ์กับ Google หรือยุติการให้บริการแก่คุณ หรือ
(ง) Google กำลังอยู่ระหว่างการยกเลิกการให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศที่คุณพำนักอาศัยหรือที่คุณใช้บริการ หรือ
(จ) การให้บริการแก่คุณโดย Google เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในเชิงพาณิชย์อีกต่อไป ตามความเห็นของ Google
13.4 ไม่มีส่วนใดในวรรคนี้ที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิ์ของ Google เกี่ยวกับการให้บริการภายใต้วรรค 4 ของข้อกำหนดนี้
13.5 เมื่อข้อกำหนดเหล่านี้สิ้นสุดลง สิทธิ์ ภาระผูกพัน และความรับผิดตามกฎหมายทั้งหมดที่คุณและ Google ได้รับประโยชน์จาก อยู่ภายใต้บังคับ (หรือที่ได้สะสมไว้ในระหว่างช่วงเวลาที่ข้อกำหนดนี้มีผลบังคับ) หรือที่มีการแจ้งต่ออายุอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนด จะไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดนี้ และบทบัญญัติของย่อหน้า 20.7 จะยังคงมีผลบังคับใช้กับสิทธิ์ ภาระผูกพัน และความรับผิดดังกล่าวโดยไม่มีกำหนด
14. การยกเว้นการรับประกัน
14.1 ไม่มีส่วนใดในข้อกำหนดนี้ รวมถึงวรรค 14 และ 15 จะยกเว้นหรือจำกัดการรับประกันหรือความรับผิดของ GOOGLE สำหรับความสูญเสีย ซึ่งไม่สามารถยกเว้นหรือจำกัดได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เขตอำนาจศาลบางแห่งไม่อนุญาตการยกเว้นการรับประกันหรือเงื่อนไขบางอย่าง หรือการจำกัดหรือยกเว้นความรับผิดสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อ การละเมิดสัญญา หรือการละเมิดข้อกำหนดโดยนัย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นเองหรือที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์อื่น ดังนั้น เฉพาะการจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายในเขตอำนาจศาลของคุณเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้กับคุณ และความรับผิดของเราจะจำกัดเพียงขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต
14.2 คุณเข้าใจอย่างชัดเจนและยอมรับว่าคุณใช้บริการนี้ภายใต้ความเสี่ยงของคุณเอง และบริการนี้มีให้ "ตามสภาพ" และ “ตามที่มีอยู่”
14.3 กล่าวโดยชัดเจนคือ Google บริษัทย่อยและบริษัทในเครือ และผู้ให้อนุญาต มิได้รับรองหรือรับประกันต่อคุณว่า:
(ก) การใช้บริการของคุณจะเป็นไปตามความต้องการของคุณ
(ข) การใช้บริการของคุณจะไม่มีการขัดข้อง ตรงเวลา ปลอดภัย หรือปราศจากข้อผิดพลาด
(ค) ข้อมูลใดๆ ที่คุณได้รับเนื่องจากการใช้บริการนี้จะมีความถูกต้องหรือเชื่อถือได้ และ
(ง) ข้อบกพร่องในการทำงานหรือฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ใดๆ ที่มอบให้แก่คุณโดยเป็นส่วนหนึ่งของบริการจะได้รับการแก้ไข
14.4 เนื้อหาใดๆ ที่ดาวน์โหลดหรือได้มาในลักษณะอื่นโดยผ่านการใช้บริการนี้ อยู่ภายใต้การพิจารณาและความเสี่ยงของคุณเอง และคุณต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวสำหรับความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ หรืออุปกรณ์อื่น หรือการสูญหายของข้อมูล อันเกิดจากการดาวน์โหลดเนื้อหาใดๆ ดังกล่าว
14.5 ไม่มีคำแนะนำหรือข้อมูลใดๆ ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษร ที่คุณได้รับจาก GOOGLE หรือโดยผ่านหรือจากบริการนี้ ที่จะก่อให้เกิดการรับประกันที่ไม่มีการระบุไว้อย่างชัดแจ้งในข้อกำหนดนี้
14.6 นอกจากนี้ GOOGLE ยังละเว้นการรับประกันและเงื่อนไขใดๆ ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการรับประกันและเงื่อนไขโดยนัยเกี่ยวกับคุณค่าการเป็นสินค้า ความเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ และการไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์
15. การจำกัดความรับผิด
15.1 ภายใต้บทบัญญัติโดยรวมในย่อหน้า 14.1 ข้างต้น คุณเข้าใจอย่างชัดเจนและยอมรับว่า GOOGLE บริษัทย่อยและบริษัทในเครือ และผู้ให้อนุญาต จะไม่มีส่วนรับผิดต่อคุณสำหรับ:
(ก) ความเสียหายโดยตรง โดยอ้อม เกิดขึ้นเอง หรือเป็นกรณีพิเศษ เป็นผลจากเหตุการณ์อื่น หรือเป็นข้อยกเว้น ซึ่งอาจเกิดจากคุณ ไม่ว่าจะเนื่องจากสาเหตุใดและภายใต้ทฤษฎีความรับผิดใดๆ ทั้งนี้รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การสูญเสียกำไร (ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม) การสูญเสียภาพลักษณ์อันดีหรือชื่อเสียงทางธุรกิจ การสูญเสียข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสินค้าหรือบริการทดแทน หรือความสูญเสียที่จับต้องไม่ได้อื่นๆ
(ข) ความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดจากคุณ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงความสูญเสียหรือความเสียหายเนื่องจาก:
(I) การพึ่งพาความครบถ้วนสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือการมีอยู่ของโฆษณาใดๆ หรือเนื่องจากความสัมพันธ์หรือธุรกรรมระหว่างคุณและผู้โฆษณาหรือผู้สนับสนุนที่มีโฆษณาแสดงอยู่บนบริการนี้
(II) การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ GOOGLE อาจกระทำต่อบริการ หรือสำหรับการสิ้นสุดการให้บริการ (หรือคุณลักษณะใดๆ ภายในบริการ) เป็นการถาวรหรือชั่วคราว
(III) การลบ ความเสียหาย หรือความล้มเหลวในการจัดเก็บเนื้อหาใดๆ และข้อมูลการสื่อสารอื่นๆ ที่เก็บรักษาหรือส่งโดยหรือผ่านการใช้บริการนี้
(III) การที่คุณไม่ได้ให้ข้อมูลบัญชีที่ถูกต้องแก่ Google
(IV) การที่คุณไม่สามารถรักษาความปลอดภัยและความลับของรหัสผ่านหรือรายละเอียดบัญชีของคุณ
15.2 ข้อจำกัดเกี่ยวกับความรับผิดของ GOOGLE ที่มีต่อคุณในย่อหน้า 15.1 ข้างต้นจะมีผลบังคับ แม้ว่า GOOGLE จะได้รับแจ้งหรือควรจะทราบถึงความเป็นไปได้ของการเกิดความสูญเสียดังกล่าวแล้วก็ตาม
16. นโยบายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า
16.1 Google มีนโยบายที่จะตอบสนองต่อการแจ้งข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เป็นไปตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (รวมถึงกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act ในสหรัฐอเมริกา) และยกเลิกบัญชีของผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซ้ำ รายละเอียดนโยบายของ Google มีอยู่ที่ http://www.google.co.th/dmca.html
16.2 Google กำหนดขั้นตอนปฏิบัติในการร้องเรียนเรื่องเครื่องหมายการค้าเกี่ยวกับธุรกิจโฆษณาของ Google ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ที่ http://www.google.co.th/tm_complaint.html
17. การโฆษณา
17.1 บริการบางประเภทได้รับการสนับสนุนจากรายได้ค่าโฆษณา และอาจแสดงโฆษณาและการส่งเสริมการขาย โฆษณาเหล่านี้อาจมีการกำหนดเป้าหมายไปยังเนื้อหาของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในบริการ การค้นหาที่กระทำผ่านบริการนี้ หรือข้อมูลอื่นๆ
17.2 ลักษณะ โหมด และขอบเขตของการโฆษณาโดย Google บนบริการนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้คุณทราบเป็นการเฉพาะ
17.3 ในการพิจารณาของ Google เพื่ออนุญาตให้คุณเข้าถึงและใช้บริการนี้ คุณยอมรับว่า Google อาจวางโฆษณาดังกล่าวไว้บนบริการได้
18. เนื้อหาอื่นๆ
18.1 บริการนี้อาจรวมถึงไฮเปอร์ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ หรือเนื้อหา หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ Google อาจไม่มีการควบคุมเหนือเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลใดๆ ที่ให้บริการโดยบริษัทหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ Google
18.2 คุณยินยอมและยอมรับว่า Google ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อความพร้อมใช้งานของไซต์หรือแหล่งข้อมูลภายนอกใดๆ ดังกล่าว และไม่ได้รับรองโฆษณา ผลิตภัณฑ์ หรือเนื้อหาอื่นๆ ที่มีอยู่บนหรือพร้อมใช้งานจากเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลดังกล่าว
18.3 คุณยินยอมและยอมรับว่า Google ไม่มีส่วนรับผิดต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดจากคุณ โดยเป็นผลมาจากความพร้อมใช้งานของไซต์หรือแหล่งข้อมูลภายนอกดังกล่าว หรือเป็นผลมาจากการที่คุณพึ่งพาความครบถ้วนสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือการมีอยู่ของโฆษณา ผลิตภัณฑ์ หรือเนื้อหาอื่นๆ บน หรือที่พร้อมใช้งานจากเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลดังกล่าว
19. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนด
19.1 Google อาจทำการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทั่วไปหรือข้อกำหนดเพิ่มเติมเป็นระยะๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว Google จะเผยแพร่สำเนาข้อกำหนดทั่วไปฉบับใหม่ไว้ที่ http://www.google.com/accounts/TOS และจะเผยแพร่ข้อกำหนดเพิ่มเติมใหม่ใดๆ ให้แก่คุณจากภายในหรือโดยผ่านบริการที่ได้รับผลกระทบ
19.2 คุณเข้าใจดีและยอมรับว่า หากคุณใช้บริการนี้หลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดทั่วไปหรือข้อกำหนดเพิ่มเติมแล้ว Google จะถือว่าการใช้งานของคุณเป็นการยอมรับข้อกำหนดทั่วไปหรือข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ได้รับการอัปเดต
20. ข้อกำหนดทั่วไปตามกฎหมาย
20.1 ในบางครั้งเมื่อคุณใช้บริการนี้ คุณอาจใช้บริการหรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ หรือซื้อสินค้า ซึ่งจัดหาให้โดยบุคคลหรือบริษัทอื่น (โดยเป็นผลมาจากหรือโดยผ่านการใช้บริการนี้) การใช้บริการ ซอฟต์แวร์ หรือสินค้าอื่นๆ ดังกล่าวอาจอยู่ภายใต้ข้อกำหนดแยกต่างหากระหว่างคุณและบริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีดังกล่าว ข้อกำหนดนี้จะไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างคุณกับบริษัทหรือบุคคลอื่นๆ เหล่านี้
20.2 ข้อกำหนดนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงตามกฎหมายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ระหว่างคุณและ Google และควบคุมการใช้บริการของคุณ (แต่ไม่รวมบริการใดๆ ที่ Google อาจมอบให้คุณภายใต้ข้อตกลงลายลักษณ์อักษรที่แยกต่างหาก) และมีผลแทนที่ข้อตกลงใดๆ ก่อนหน้านี้ระหว่างคุณและ Google ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริการนี้
20.3 คุณยอมรับว่า Google อาจมีข้อความแจ้งให้คุณทราบ ซึ่งรวมถึงข้อความที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดนี้ ทางอีเมล ทางไปรษณีย์ หรือโดยการโพสต์บนบริการนี้
20.4 คุณยอมรับว่า หาก Google มิได้ใช้หรือบังคับใช้สิทธิ์ตามกฎหมายหรือการเยียวยาใดๆ ที่มีอยู่ในข้อกำหนดนี้ (หรือที่ Google มีผลประโยชน์ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง) จะไม่ถือเป็นการยกเว้นสิทธิ์ของ Google อย่างเป็นทางการ และสิทธิ์หรือการเยียวยาดังกล่าวจะยังคงมีอยู่สำหรับ Google
20.5 หากศาลยุติธรรมที่มีอำนาจตัดสินในเรื่องนี้ พิพากษาว่าบทบัญญัติใดๆ ของข้อกำหนดนี้ไม่มีผลบังคับ บทบัญญัตินั้นจะถูกลบออกจากข้อกำหนดนี้ โดยไม่มีผลกระทบต่อส่วนที่เหลือของข้อกำหนดนี้ บทบัญญัติที่เหลือของข้อกำหนดนี้จะยังคงมีผลสมบูรณ์และสามารถบังคับใช้ได้
20.6 คุณยินยอมและยอมรับว่า สมาชิกแต่ละรายของกลุ่มบริษัทที่ Google เป็นบริษัทแม่ จะเป็นผู้รับประโยชน์ที่เป็นบุคคลที่สามสำหรับข้อกำหนดนี้ และบริษัทอื่นๆ ดังกล่าวจะมีสิทธิ์บังคับใช้โดยตรงและอาศัยบทบัญญัติใดๆ ของข้อกำหนดนี้ ซึ่งให้ผลประโยชน์แก่ (หรือสิทธิ์ที่เป็นประโยชน์แก่) พวกเขา นอกเหนือจากนี้ ไม่มีบุคคลหรือบริษัทอื่นใดที่จะเป็นผู้รับประโยชน์ที่เป็นบุคคลที่สามสำหรับข้อกำหนดนี้
20.7 ข้อกำหนดนี้และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับ Google ภายใต้ข้อกำหนดนี้ จะอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยไม่คำนึงถึงความขัดแย้งของกฎหมาย คุณและ Google เห็นพ้องที่จะอยู่ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมแห่งเคานท์ตีซานตาคลารา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากข้อกำหนดนี้ อย่างไรก็ตาม คุณยอมรับว่า Google จะยังคงสามารถร้องขอการเยียวยาโดยคำสั่งศาล (หรือการบรรเทาทุกข์ทางกฎหมายอย่างเร่งด่วนที่เทียบเท่า) ในเขตอำนาจศาลใดๆ ได้
16 เมษายน 2007